วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 31 เดือน มกราคม 2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานกลุ่ม ที่อาจารย์สั่งไว้กลุ่มละ3คน โดยสื่อชิ้นนี้จะต้องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
และเมื่อทำสื่อเสร็จต้องนำไปทดลองใช้กับเด็ก เพื่อมาสรุปผลว่าเมื่อเด็กเล่นแล้ว ผลที่ได้คืออะไร ปัญหาที่พคืออะไร

สื่อของกลุ่มดิฉันมีชื่อว่า..... คณิตคิดสนุก ^___^

วิธีการเล่น...... พวกเราจะมีคำถามง่ายๆที่เหมาะกับเด็กๆโดยใช้รูปผลไม้แทนตัวเลข
**ตัวอย่างเช่น มีส้มห้าผล มีเงาะสองผล รวมดันเป็นกี่ผลคะเด็กๆ!!! 

ผลที่ได้..... คือน้องมีทักษะพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว น้องเรียรอยู่ชั้นอนุบาล3 โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน คือเราไม่สอนวิธีคิดน้อง แค่คุยกับน้องว่า วันนี้พี่ๆมีเกมมาให้เล่นนะคะ แล้วก็ตั้งคำถามให้น้องเค้าไป น้องก็สามารถคิดเลขได้ โดยวิธีการทดเลขไว้ในใจ แล้วใช้นิ้วนับค่ะ

ปัญหาที่พบ..... เด็กค่อนข้างติดผู้ปกครอง ขี้อาย

ประโยชน์..... เด็กได้พัฒนาการด้านสติปัญญาโดยการคิดเลข




ภาพประกอบของกลุ่มค่ะ ^___^


นอกจากกลุ่มของดิฉันแล้ว ยังมีกลุ่มที่ดิฉันชื่นชอบก็คือ รูปทรงเรขาคณิต
ชอบเพราะ มีสีสันสดใส มีความคงทน และผลงานของเพื่อนก็ทำออกมาได้เหมาะกับเด็กๆ คือไม่เล็กจนเกินไป ไม่ใหญ่จนเกินไปค่ะ


ภาพประกอบค่ะ ^___^


…………………………………………......

ภาพกิจกรรมในห้องค่ะ :)


จบแล้วค่ะ นางสาวภูริศา  เข้าเมือง ^^




บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 24 เดือน มกราคม 2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......
วันนี้อาจารย์ให้ทำงานกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน
-เขียนแผนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เมื่อแต่ละกลุ่มเขียนเสร็จให้ออกมานำเสนอตามกระบวนการ ดังนี้
1) วัตถุประสงค์
2) ประสบการณ์สำคัญ
3) สาระที่ควรเรียนรู้
4) ตัวกิจกรรม
5) สื่อ
6) การวัดและการประเมินผล
7) การบูรณาการ

…………………………………………......


ภาพกิจกรรมในห้องค่ะ ^______^

…………………………………………......
 นางสาวภูริศา  เข้าเมือง .... จบแล้วค่ะ ^^


วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 17 เดือน มกราคม 2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......
วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม
คือ ให้แต่ละกลุ่มจับฉลากว่ากลุ่มใหนจะได้ทำ แผนภูมิชนิดไหน ซึ่งมีดังต่อไปนี้



แผนภูมิที่1 คือ แผนภูมิวงกลม
แผนภูมิที่2 คือ แผนภูมิแท่ง
แผนภูมิที่3 คือ แผนภูมิตาราง

โดยขั้นตอนการทำก็คือ แต่ละกลุ่มจะต้องคิดหน่วยที่จะสอนเด็กขึ้นมาเพื่อที่จะให้เด็กจำแนกความเหมือน-ความต่าง ตัวอย่างเช่น


ตัวอย่างที่1 คือ การเปรียบเทียบความเหมือน-ความต่างของร่มผ้า-ร่มกระดาษ

โดยครูจะเป็นผู้เขียนจากสิ่งที่เด็กๆบอกเล่าออกมา



ตัวอย่างที่2 คือ แผนภูมิแท่ง เป็นการสำรวจ ร่มที่หนูชอบ โดยครูจะมีร่มแบบต่างๆ แล้วให้เด็กออกมาเขียนชื่อในช่องที่ตนเองชอบ หลังจากลงความเห็นเสร็จ ครูจะสรุปกับเด็กๆว่า ร่มชนิดไหนที่เด็กๆชอบมากที่สุด และ ร่มชนิดไหนที่เด็กๆชอบน้อยที่สุด


ตัวอย่างที่3 แผนภูมิตาราง การจำแนกสัตว์เลี้ยง-สัตว์ป่า โดยครูจะมีรูปภาพมาให้เด็กๆดูแล้วให้เด็กๆลองทายดูว่าสัตว์ตัวไหนเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์ตัวไหนเป็นสัตว์ป่า เมื่อเด็กๆตอบครูก็จะเขียนชื่อ และนำรูปไปติด
เมื่อเสร็จแล้วครูและเด็กจะมาสรุปกันว่าสัตว์เลี้ยงมีอะไรบ้าง สัตว์ป่ามีอะไรบ้าง
................................................................
 กิจกรรมที่2 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5-6 คน ทำตัวหนอนขึ้นมาโดยใช้ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม



นี่คือการนำสาระ การเรียนรู้ พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยมาทำกิจกรรม >หนอนลูกโป่งสวรรค์< 
................................................................

การทำหนอนรูปแบบอื่นๆของเพื่อนๆค่ะ






................................................................


จบแล้วค่ะ วันนี้ได้ความรู้เยอะแยะมากมายเลยทั้งสนุกทั้งได้ความรู้
 
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง 😁











วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 10 เดือน มกราคม 2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......

วันนี้อาจารย์ ได้สอนเนื้อหาในบทเรียน
 " กรอบมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย "
 
** ให้เด็กเตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

** สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
................................................................

** คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
ตัวอย่าง เช่น
-จำนวนนับ1-20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย
-รู้ค่าของจำนวน
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ

2. มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ตัวอย่าง เช่น
-เปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว
-รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับช่วงเวลา

3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเราขาคณิตสามมิติ-สองมิติ

4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

5. มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

6. มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
................................................................

** สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ที่จำเป็น

สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
   เช่น  -การเปรียบเทียบ     -เรียงลำดับ

สาระที่2 การวัด
มาตราฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่3 เรขาคณิต
มาตราฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตราฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกเรขาตณิตและเข้าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำ

สาระที่4 พีชคณิต
มาตราฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ คือ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตราฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
*นำเสนิในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สาระที่6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตราฐาน ค.ป. 6.1 แก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
................................................................
 กิจกรรมในห้องเรียน






................................................................

ตัวอย่างกิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้ดู จากสิ่งที่เด็กบอกเล่าแล้วครูนำมารวบรวม



ความแตดต่างของยีราฟ-ม้าลาย


ตารางสัตว์ที่มีพิษ-ไม่มีพิษ 

................................................................
นางสาวภูริศา  เข้าเมือง ^_____^