วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 6 เดือน ธันวาคม 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......
 
วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมาพรีเซนต์งานตามที่ได้แบ่งไว้

หัวข้อที่1 จำนวนและการดำเนินการ(Namber Operation standard)

"ตัวอย่าง"

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - ขีดเส้นหรือวาดรูปแทนสัญลักษณ์เมื่อนับจำนวนสิ่งต่างๆ 
**การจัดประสบการณ์ของครู
  - จัดเครียมสื่อตัวเลข บัตรตัวเลข และเกมเกี่ยวกับจำนวน เช่น บิงโก ลอคโต
.……………….……………….…………...
**การเรียนรู้ของเด็ก
  - จับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เช่น ช้อนส้อม แปรงสีฟันกับยาสีฟัน

**การจัดประสบการณ์ของครู
  - จัดโอกาศในชีวิตประจำวันให้เด็กนับ และตรวจสอบ เช่น จำนวนขนมที่เป็นอาหารว่าง
.……………….………….……………….



นี่คือกลุ่มที่1 ออกมานำเสนองานในเรื่อง จำนวนและการดำเนินการค่ะ


…………………………………………......
 
หัวข้อที่2 การวัด (Measurement)

"ตัวอย่าง"

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - ใช้ถ้วยหรือช้อนในการตวงเมื่อทำกิจกรรมประกอบอาหาร
**การจัดประสบการณ์ของครู
  - จัดกิจกรรมประกอบอาหาร
................................................................
**การเรียนรู้ของเด็ก
  - เปรียบเทียบและเรียงลำดับสิ่งต่างๆ ตามคุณลักษณะ

**การจัดประสบการของครู
  - แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนัก มากกว่า น้อยกว่า ด้วยตาชั่งสองแขน



เร
นี่คือกลุ่มที่2 ออกมานำเสนองานในเรื่อง การวัด


................................................................

หัวข้อที่3  เรขาคณิต (Geometry)

"ตัวอย่าง"

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - รู้จักและจำแนกรูปเรขาคณิตสามมิติ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
**การจัดประสบการณ์ของครู
  - ให้เด็กสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวที่เหมือนหรือคล้ายรูปเรขาคณิต
................................................................
 
**การเรียนรู้ของเด็ก
  - สร้างรูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติจากของเล่น และสื่อต่างๆ

**การจัดประสบการณ์ของครู
  - จัดเตรียมเศษวัสดุและสิ่งของเหลือใช้มาให้เด็กใช้สร้างสรรค์รูปเรขาคณิตเป็นงานศิลปะ



นี่คือกลุ่มที่3 ที่ออกมานำเสนองานเรื่อง เรขาคณิตค่ะ
................................................................

หัวข้อที่4 พีชคณิต (Algebra)
เข้าใจรูแบบและความสัมพันธ์

"ตัวอย่าง"

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - จำแนก เปรียบเทียบ จัดกลุ่ม เรียงลำดับสิ่งต่างๆตามขนาด จำนวนและคุณสมบัติ

**การจัดประสบการณ์ของครู
  - ช่วยเด็กในการอธิบายลักษณะของสิ่งต่างๆ
  - จัดวัสดุหลากหลายให้เด็กจำแนก จัดกลุ่ม เช่น เปลือกหอย กระดุม ใบไม
................................................................

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - สังเกตแบบรูปที่ปรากฏในหนังสือ คำคล้องจอง กลอน หรือเพลง
  - เรียนรู้ความสัมพันธ์ของแบบรูปต่างๆ เช่น เสียง ดนตรี ศิลปะ

**การจัดประสบการณ์ของครู
  - ใช้ของเล่นแสดงแบบรูป เช่น ทรงบล็อกสี่เหลี่ยม ทรงกลมวางสลับกัน
 



นี่คือกลุ่มที่4 ที่ออกมานำเสนองานเรื่อง พีชคณิตค่ะ

................................................................

หัวข้อที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (Data Analysis and Probability)
การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และ นำเสนอ

"ตัวอย่าง"

**การเรียนรู้ของเด็ก
  - สำรวจโดยบอกความชอบ เข่น น้ำผลไม้ นม
  - ทำนายหรือึาดเดาเหตุการณ์ต่างๆ

**การจัดประสบการณ์ของครู
  - จัดทำแผนภูมิอย่างง่ายติดไว้ให้เด็ก
  - จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาศได้คาดเดา หรือทำนายเหตุการณ์


นี่คือกลุ่มที่5 ที่ออกไปนำเสนองานเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นค่ะ

................................................................

สรุป

วันนี้นะคะอาจารย์ก็จะมีใบการประเมินคะแนน คือ ให้ทุกกลุ่มประเมินเพื่อนที่ออกไปนำเสนอ
โดยมีเกณฑ์ชี้วัด ดังนี้
1)  เนื้อหา
2) รูปแบบในการนำเสนอ
3) ความคิดสร้างสรรค์

................................................................

ภาพที่อาจาร์กำลังสาธิต การคาดคะเดาเหตุการณ์จากการทดลองสุ่ม ลูกปิงปอง สีขาว และสีส้มค่ะ ^^

................................................................

นางสาวภูริศา เข้าเมือง


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 22 เดือน พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......
วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู่บทเรียนในเรื่องของ

จุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 1) เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐาน

 2) เพื่อพัฒนามโนภาพของเด็ก

 3) เพื่อให้เด็กได้รู้จักใช้กระบวนการคิด

 4) เพื่อให้เด็กได้ฝึกฝนคณิจศาสตร์

 5) เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ

 6) เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักหาคำตอบด้วยตัวเอง
……………………………………….........

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

 


1) การสังเกต (Observation)
-การใช้ประสาทสัมผัส
โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับเด็ก

 
2) การจำแนกประเภท (Classifying)
-การแบ่งประเภทสิ่งของ
-เกณฑ์ในการจำแนก



 3) การเปรียบเทียบ (Comparing)
-อาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ
-เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะกับสิ่งนั้นๆ

 

4) การจัดลำดับ (Ordering)
-เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
-การจัดลำดับวัตถุของ หรือเหตุการณ์

 5) การวัด (Measurement)
-สัมพันธ์กับการอนุรักษ์



 6) การนับ (Counting)
-นับแบบไม่เข้าใจความหมาย
-การนับแบบท่องจำจะมีความหมายเชื่อมโยงกับจุดประสงค์

 

7) รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)

……………………………………….........

และท้ายชั่วโมงอาจารย์ได้แจกอุปกรณ์ กระดาษ สี กรรไกร กาว.... เริ่มจากอาจารย์ให้เขียนตัวเลขที่ตัวเองชอบลงไปกลางหน้ากระดาษ หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้วาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนที่เขียนตัวเลขค่ะ


และนี่คือผลงานของดิฉันที่สร้างสรรค์ออกมาค่ะ ^^


และนี่คือภาพที่อาจารย์ประมวลไว้ในห้องค่ะ ^^
……………………………………….........
นางสาวภูริศา เข้าเมือง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 2 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......
วันนี้อาจารย์ได้เข้าสู่บทเรียนในเรื่องของ

ความหมายทางคณิตศาสตร์
 หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ ที่ใช้ศึกษาอธิบายสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ จำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับการเกี่ยวกับ จำนวน การวัด เป็นต้นค่ะ

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
 1) เกี่ยวข้องในชีวิตปรัจำวัน
 2) ส่งเสริมกระบวนการคิด แก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
 3) เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผน และ ประเมินผล
 4) เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดบเฉาะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
…………………………………………......

และต่อมาอาจารย์ได้ เข้าสู่ทฤษฏี พัฒนาการทางสติปัญญา

โดยแนวคิดของ Piaget (เพียเจต์) ที่ว่า
1) ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (แรกเกิด-2ปี)
    -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
    -เด็กวามารถจำลักษณะของวัตถุ
2) ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (2-7ปี)
    -เด็กใช้ภาษาพูดแสดงความรู้สึก ความคิ
    -เด็กรู้จักที่จะบิกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาว
    -เล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของความเข้าใจ เป็นนามธรรม
    -เด็กวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจน
    -ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อสภาพทางกายภาพได้เปลี่ยนแปลงไป
…………………………………………......

การอนุรักษ์...(Conservation)
 เด็กวามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
การสะสมความคิดเดิม เช่น
-การนับ
-การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
-การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
-การเรียงลำดับ
-การจัดกลุ่ม


ตัวอย่างการเปรียบเทียบปริมาตร


ตัวอย่างการจับคู่ การนับ การจัดกลุ่ม

…………………………………………......

หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์
 1) เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบาย และสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ โดยผ่านวัตถุ และ อุปกรณ์
2) ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น และกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติ 
4) ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจกับคณิตศาสตร์
5) ใช้คำถามปลายเปิด
6) เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์
…………………………………………......

หลังจากที่เรียนทฤษฏีเสร็จ ท้ายคาบอาจารย์ได้ได้แจกกระดาษในทำกิจกรรม คือ วาดรูปสัตว์ที่มีขาเยอะที่สุด ><


นี่คือสัตว์ที่หนูวาดค่ะ >< เมื่อวาดเสร็จ อาจารย์ก็แกล้งก็คือให้ใส่รองเท้าให้มันครบทุกขา ของหนูมี 100 ขา แต่หนูก็ทำได้ *^*
 
จากกิจกรรมนี้ เด็กจะได้ทักษะในเรื่องของ รูปทรง เรขาคณิตค่ะ ^^

…………………………………………......
นางสาวภูริศา เข้าเมือง

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี วันศุกร์ ที่ 8 เดือน พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14:10-17:30
…………………………………………......

การเรียนการสอนในวันนี้ ดิฉัน นางสาวภูริศา เข้าเมือง ไม่ได้มาเรียน ในวัน และ เวลาดังกล่าว เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ จึงไม่ได้มาเรียนค่ะ
…………………………………………......
 นางสาวภูริศา เข้าเมือง 😬